top of page

อย่าปล่อยให้ลูกอารมณ์ร้าย พ่อแม่ควรสังเกตพฤติกรรมของลูกอย่างไร


ลูกน้อยอารมณ์ร้าย คุณพ่อคุณแม่ควรจัดการอย่างไรดี

อารมณ์โกรธเป็นอารมณ์ปกติของมนุษย์ที่ทุกคนสามารถแสดงออกได้ค่ะ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพียงแค่เราต้องทำความเข้าใจลูกน้อยและหาวิธีรับมือกับลูกของเราให้ถูกต้องเพียงเท่านั้นเองค่ะ เพราะหากเด็กแสดงออกถึงอารมณ์รุนแรงจนทำให้ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ อาจจะส่งผลเสียต่อตัวเด็กเองและผู้อื่นได้อีกด้วยค่ะ  พ่อแม่อย่างเราจึงควรสังเกตพฤติกรรมของลูกอย่างใกล้ชิด เพื่อรับมือกับพฤติกรรมที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ 


และหากคุณพ่อคุณแม่ยังไม่แน่ใจว่าพฤติกรรมเช่นนี้อาจจะส่งผลให้ลูกเป็นเด็กที่อารมณ์ร้ายหรือไม่ วันนี้ AsmartBrain จะมาแนะนำ วิธีสังเกตพฤติกรรมของลูกน้อยรวมถึงวิธีรับมือด้วยค่ะ


ปัจจัยที่ทำให้ลูกน้อยโมโหร้าย

  • ปัจจัยจากร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการง่วงนอน หรือโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เช่น สมาธิสั้น ไบโพลาร์ ออทิสติก เป็นต้น อีกทั้งยังมีในเรื่องของโครงสร้างสมองและระบบประสาทที่ไม่สมดุลอาจส่งผลให้เด็กใจร้อน หงุดหงิด ซึมเศร้าได้ค่ะ 

  • ปัจจัยจากจิตใจเป็นพื้นฐานธรรมชาติทางอารมณ์ของเด็ก อย่างเช่น ขี้โมโห เจ้าอารมณ์ ขาดความอดทน เป็นต้น

  • ปัจจัยจากสภาพแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงดู อย่างการที่เด็กเติบโตในครอบครัวที่ใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา พ่อแม่เป็นคนเจ้าอารมณ์  ก็จะทำให้ลูกซึมซับและมีอารมณ์โมโหร้ายตามมาค่ะ

  • การรับเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรงผ่านสื่อต่าง ๆ ก็มีผลกับความโกรธของเด็กได้เช่นกันนะคะ


เด็กร้องไห้งอแง

พฤติกรรมที่บ่งบอกว่าลูกกำลังโกรธ

เด็กแต่ละคนมีการแสดงออกทางอารมณ์ที่แตกต่างกันค่ะ คุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตพฤติกรรมของลูกอย่างใกล้ชิดนะคะ  โดยพฤติกรรมที่บ่งบอกว่าลูกกำลังโกรธอาจได้แก่

  • หน้าบึ้ง หน้าดำ ขมวดคิ้ว

  • ร้องไห้ กรีดร้อง

  • ทุบตี ขว้างปาสิ่งของ

  • พูดจาหยาบคาย สบถ

  • ถอนหายใจ 

  • นั่งนิ่งเฉย ไม่สนใจอะไร

วิธีสังเกตลูกอย่างไร ว่ามีอารมณ์รุนแรงหรือไม่ ?

คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้จากความร่าเริงของลูกเราค่ะ ว่าร่าเริงลดลงหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นการที่ลูกอาจไม่ยิ้มแย้มให้กับเราหรือคนรอบข้าง เริ่มไม่ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ เช่น ชอบวาดรูป ชอบเล่นดนตรี หรือการควบคุมอารมณ์ของลูกค่ะ ซึ่งสังเกตวิธีการแสดงอารมณ์ของลูกที่เปลี่ยนไปจากการลงมือทำสิ่งต่าง ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ อย่างเช่น วาดรูปไม่เสร็จ เล่นกีต้าร์ไม่จบเพลง แล้วมีการแสดงอาการหงุดหงิด หรือแสดงอารมณ์รุนแรงออกมา รวมถึงพฤติกรรมที่ชอบเก็บตัวอยู่คนเดียว ไม่ว่าจะเป็น การที่ลูกกลับถึงบ้านแล้วเข้าห้องทันที พูดคุยกับเราน้อยลง หรือไม่ออกไปทำกิจกรรมกับเพื่อน ๆ ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูกเพราะสิ่งเหล่านี้อาจนำพาไปสู่พฤติกรรมกลายเป็นเด็กโมโหร้ายหรืออารมณ์รุนแรงได้ค่ะ


สิ่งที่พ่อแม่ควรทำเมื่อลูกอารมณ์ร้าย

ทำความเข้าใจอารมณ์ของลูก

เมื่อลูกอารมณ์ร้ายคุณพ่อคุณแม่ต้องตั้งสติค่ะ เพื่อให้อารมณ์เย็น ไม่ควรโต้ตอบกับลูกในขณะที่อารมณ์ร้อนอยู่ เพราะอาจทำให้สถานการณ์แย่ลง หลังจากนั้นทำความเข้าใจอารมณ์ของลูกก่อนว่ากำลังโกรธเรื่องอะไร จากนั้นจึงค่อย ๆ พูดคุยกับลูกเพื่อหาวิธีแก้ไข โดยพ่อแม่ควรหลีกเลี่ยงการตำหนิหรือการลงโทษลูก เพราะอาจยิ่งทำให้ลูกโกรธมากขึ้น โดยอาจจะเบี่ยงเบนความสนใจของลูก เมื่อลูกนิ่งขึ้นค่อยหาวิธีจัดการกับความโกรธที่ยังเหลือโดยให้เขาได้คิดและเรียนรู้จากสิ่งนี้ค่ะ 


รับฟังลูก

คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมรับฟังลูกของเราอย่างตั้งใจโดยไม่ขัดจังหวะ เมื่อลูกได้ระบายความโกรธออกมาแล้ว ลูกจะเริ่มรู้สึกสบายใจขึ้น อารมณ์เย็นลง แล้วเราถึงจะหาวิธีคุยกับเขา สอนเขา ลูกของเราก็จะมีความเข้าใจมากขึ้นค่ะ 


ช่วยลูกหาวิธีจัดการกับอารมณ์ 

พ่อแม่สามารถชวนลูกน้อยหาวิธีจัดการกับอารมณ์โกรธ อย่างใช้การอธิบายด้วยเหตุผล หลังจากที่ปล่อยให้ลูกลองอยู่กับตัวเองจนอารมณ์สงบขึ้น และให้ลูกฝึกหายใจลึก ๆ การนับเลขถอยหลัง หรือการหากิจกรรมผ่อนคลาย เป็นต้น


เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูก

สิ่งที่สำคัญที่สุดคุณพ่อคุณแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกของเราค่ะ เพราะเด็กมักจะมีพฤติกรรมการเลียนแบบจากผู้ใหญ่หรือคนใกล้ชิด และหากคุณพ่อคุณแม่หรือคนใกล้ชิดมีอารมณ์โกรธแล้วเกิดการอารมณ์ร้าย เด็กก็จะเกิดการทำตาม ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรจัดการกับอารมณ์โกรธนั้นได้ด้วย เพื่อเป็นแบบอย่างให้ลูกเห็นว่า อารมณ์โกรธและโมโหเหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องแสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าวออกมา


คุณพ่อคุณแม่ให้เวลาเล่นกับลูกน้อย

รู้อย่างนี้อย่าปล่อยให้ลูกโมโหร้ายหรือมีอารมณ์ที่รุนแรงนะคะ เพราะจะเกิดผลเสียในอนาคตแน่นอนค่ะ คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายจึงควรที่จะหมั่นใส่ใจและให้เวลากับลูกเพื่อสังเกตพฤติกรรมลูกของเรา เราจะได้แนะนำและช่วยกันอบรมเลี้ยงดูเขาให้โตขึ้นเป็นเด็กที่ใจเย็น น่ารัก และมีเหตุผลกันนะคะ และการหาของเล่นที่มีประโยชน์สามารถช่วยให้เขามีอารมณ์นิ่งและมีสมาธิมากขึ้นค่ะ อย่างไรก็ตามหากมีปัญหาก็สามารถแวะมาพูดคุยกับทาง AsmartBrain ได้ค่ะ เราพร้อมเป็นเพื่อนช่วยเลี้ยงลูกไปกับคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านเลยค่ะ 


มากกว่า 'ของเล่น' คือเห็นคุณได้เล่นกับลูกวันนี้คุณเล่นกับลูกแล้วหรือยัง?

-AsmartBrain  -



8 views0 comments
bottom of page