พัฒนาการด้านการเข้าสังคม
Updated: Feb 14, 2022

ลูกน้อย ของเรามีพัฒนาการแต่ละช่วงวัย
เป็นอย่างไรบ้าง และคุณพ่อคุณแม่ควรเสริมสร้าง
พัฒนาการลูกน้อยได้อย่างไร
0 - 1 ปี
0 สัปดาห์ ทารกน้อยอยากฟัง อยากมอง และตอบสนองต่อสรรพเสียง เขาจะผงกศีรษะ ขยับริมฝีปาก แลบลิ้น หรือขยับแขนขาไปมา สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – โอบกอดลูกน้อยบ่อยครั้ง ผิวหนังสัมผัสกันจะเป็นจุดเริ่มต้นของความผูกพันระหว่างบุคคล – สนทนากัน “สองทาง” ตอบสนองกิริยาทุกอย่างของลูกน้อย การพูดคุยกันจะกระตุ้นให้เขา “พูด” และแสดงออกมากขึ้น ก่อความผูกพัน ทารกน้อยตอบสนองต่อความรัก ความเอื้อเฟื้อ นับแต่วันแรกเกิด หากมีการประสานตา และการสัมผัสผิวหนัง 12 สัปดาห์ ลูกน้อยหันศีรษะมาหาถ้าได้ยินเสียงของคุณแม่ ยิ้มรับ แสดงความยินดีโดยการยิ้ม เตะขาขึ้นลงไปมาโบกไม้โบกมือ สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – ความประทับใจแรกสุดของทารกอย่างหนึ่งคือ การได้รับน้ำนม ไม่ว่าจะจากขวดหรือเต้านม ประสานตากับลูกน้อยเพื่อสร้างฐานแห่งสันถวะทางสังคม และรับทราบความยินดีของลูกน้อยที่ได้รับน้ำนม – เด็กจะเรียนรู้ว่าการแสดงความเป็นมิตรจะได้น้ำใจตอบสนอง ถ้าคุณตอบสนองด้วยความใส่ใจ ความรัก การโอบกอด ความสุขสบาย และน้ำเสียงอ่อนโยนปลอบประโลม เด็กที่เห็นรอยยิ้มจะยิ้มตอบและยิ้มต้อนรับเมื่อคุณแม่เดินมาใกล้ ประสานตาในขณะให้นม เวลาให้นมเป็นห้วงเวลาแห่งการสัมผัสกัน โอบลูกน้อยแนบอก ประสานตาและพูดคุยกับลูกน้อย 16 สัปดาห์ ลูกน้อยจะจ้องมองและยิ้มให้ผู้คนที่แวะเข้ามาพูดและเล่นด้วย เขาจำคุณแม่และสมาชิกในครอบครัวได้ เขาไม่ค่อยชอบใจนักถ้าถูกทอดทิ้งให้อยู่กับของเล่นนานเกินไป จะร้องโยเยถ้าถูกทอดทิ้งเสียงร้องไห้จะหายเป็นปลิดทิ้งถ้าคุณแม่อุ้มขึ้นจากอู่ จะขยับยกตัวรับการอุ้ม สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – แสดงกิริยาท่าทางแสดงอารมณ์ออกให้เกินจริง เพื่อให้ลูกน้อยมองเห็นได้ชัดเจน ประสานตาให้บ่อยครั้ง แสดงสีหน้าและท่าร่างให้ปรากฏเด่นชัด – เลียนแบบท่าทางของลูกน้อยทุกอย่าง แสดงออกเกินจริง – ใช้เวลาเล่นสนุกกับลูกน้อยให้มากที่สุด การร้องเพลงและเล่นเกมเข้าจังหวะจะกระตุ้นให้เขาส่งเสียงตอบสนอง ตอบสนองด้วยกิริยาเกินจริง แสดงกิริยาตอบสนองด้วยท่าทางเกินจริงเพื่อให้ลูกน้อยมองเห็นได้ชัดเจน 20 สัปดาห์ ลูกน้อยแสดงอาการเขินอายโดยหันหน้าหนีคนแปลกหน้า แต่จะยิ้มรับใบหน้าที่คุ้นเคย เขาจะแสดงออกได้ 4 ทางคือ ร้องไห้ ส่งเสียง สีหน้า และท่าทาง รู้จักแยกแยะระหว่างเสียงกราดเกรี้ยวและเสียงนุ่มนวลเป็นมิตร ตอบสนองต่อการยิ้มให้และการดุด่าแตกต่างกัน สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – เลียนเสียงลูกน้อย เพิ่มระดับเสียงสูงต่ำ เพิ่มทำนองสูงต่ำ – ถ้าลูกน้อยเป็น “ผู้ฟังชั้นดี” กระตุ้นด้วยเสียงนานาชนิด เช่น เสียงเพลงเบา ๆ เสียงขยำกระดาษ เสียงกระดิ่งสดใส หรือแขวนโมบายล์แก้วไว้ข้างหน้าต่าง – แนะนำแขกให้รู้จักลูกน้อยเพื่อให้คุ้นหน้าคนแปลกหน้า สนองความสนใจ ถ้าลูกน้อยเป็นนักฟังชั้นดี สรรหาเสียงนานาชนิดสนองตอบความสนใจของเขา 24 สัปดาห์ ลูกน้อยมีพัฒนาการรุดหน้ามาก ตอบสนองต่อการลูบ การตี (เบา ๆ) การตบเบา ๆ และการเกา ลูกน้อยอาจจะเกาหน้าคุณแม่ สำรวจชิ้นส่วนต่าง ๆ เพื่อแสดงการทักทายหรือความสนใจ ในระยะนี้ เขาอาจจะแสดงความหวาดกลัวคนแปลกหน้า หวงคุณแม่โดยการเกาะไม่ปล่อย สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – ถ้าลูกน้อยแสดงท่าทางได้แล้ว ควรแสดงท่าทางอื่น ๆ ให้เขาได้เห็น ในยามที่คุณเดินไปหา ยื่นมือทำท่าอุ้มขึ้นจากอู่ เขาจะเลียนแบบท่าทางนั้น – แสดงกิริยาเกินจริง เติมเสียงสูงต่ำให้รับกับท่าทางนั้น รอจนกว่าลูกน้อยจะเลียนแบบท่าทางนั้น – แนะนำแขกแปลกหน้าให้ลูกน้อยรู้จัก ให้เวลาลูกปรับตัว กระตุ้นการแสดงท่าทาง ตอบสนองท่าทางของลูกน้อยด้วยท่าทางอื่น ๆ เพิ่มเติมเข้าไปเพื่อให้เขาเรียนรู้ได้มากที่สุด 36 สัปดาห์ ลูกน้อยจะจ้องมอง เอื้อมือออกไปสัมผัสเพื่อนเด็ก ร่วมเล่นเกมตบแผละและนิ้วน้อยอยู่ไหน พยายามออกเสียงอึกอัก กระแอม ร้องไห้ กรีดร้อง และเป่าฟองน้ำลาย พร้อมกับแสดงสีหน้าและกิริยาท่าทางเพื่อสื่อความหมาย สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – แสดงความรักใคร่ด้วยสัมผัส เล่นเกมแตะเนื้อตัวให้มากที่สุด – ถ้าลูกน้อยเป่าฟองน้ำลาย เลียนแบบน้ำเสียงแล้วเติมเสียงใหม่เข้าไป รอชั่วครู่ให้เขาตอบสนอง เขาจะเรียนรู้ว่าเสียงคือ การสื่อความหมาย – กระตุ้นการพึ่งพาตนเองโดยให้ถือขวดนมเอง – พูดคำว่า “ไม่” ยืนยันซ้ำด้วยเสียงหนักแน่นเพื่อให้เขาเข้าใจความหมายเชิงปฏิเสธ เสนอความรักล้นเหลือ สัมผัสลูกน้อยและให้เขาแตะตัวคุณให้บ่อยครั่งที่สุด
1 - 2 ปี
12 เดือน ลูกน้อยรู้จักชื่อตัวเอง เข้าใจคำว่า “ไม่” มีอารมณ์ขัน สนุกกับการทำให้คุณแม่หัวเราะ แสดงความรักออกมาเด่นชัดโดยการซุกหน้าและศีรษะเข้ามาแนบหน้าคุณแม่ จดจำวิถีปฏิบัติทางสังคม เช่น การโบกมือลา หรือการหอมแก้ม ถ้ามีคนแย่งตุ๊กตาออกจากมือ เขาจะแสดงความโกรธ สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – ใช้เสียงหัวเราะแสดงการยอมรับ เติมจังหวะช่องว่างในการเล่านิทานหรือการเล่นเกมด้วยเสียงหัวเราะ เพื่อช่วยพัฒนาอารมณ์ของลูกน้อย – แนะนำให้ลูกน้อยรู้จักเด็กอื่น ๆ ทิ้งลูกไว้กับพี่เลี้ยงหรือคนที่ไม่คุ้นหน้าเป็นครั้งคราว เด็กจะติดแม่ถ้าไม่มีผู้ดูแลคนอื่น และจะเกิดอาการว้าเหว่ถ้าแยกจากแม่ สาธิตวิถีปฏิบัติในสังคม ก่อนจะออกจากบ้าน อย่าลืมหอมแก้มลูกน้อยและโบกมือลา ในตอนกลับแสดงการทายเป็นพิเศษ 15 เดือน ลูกน้อยชื่นชอบการเข้าร่วมสมาคมส่งเสียงแทรกในบทสนทนา ออกเสียงคำที่รู้ความหมายได้ 1-2 คำ ร้องขอได้แล้ว แสดงอาการขอบคุณ และหยุดชะงักถ้าได้ยินคำห้าม อยากช่วยงานคุณแม่ ชอบเกาะมือคุณแม่ยึดถือเป็นที่พักพิง สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – นำลูกน้อยเข้าร่วมสังสรรค์ อาจจะให้นั่งในเก้าอี้สูง วางคอกกลางห้องหรือวางเก้าอี้เด็กไว้กลางวงผู้ใหญ่ – ลูกน้อยอาจจะแสดงความหวาดกลัวหรือความไม่ชอบคนแปลกหน้า หาโอกาสทิ้งให้ผู้อื่นดูแลเขาบ้าง เพื่อให้เขาหัดพึ่งตนเอง – สอนคำว่า “ขอบคุณ” – จับมือหรือโอบลูกน้อยถ้าเขาต้องการหลักยึด วางลูกน้อยไว้กลางวง นำลูกน้อยเข้าร่วมกิจกรรมด้วย จัดเด็กให้อยู่กลางวง 18 เดือน ลูกน้อยอยากทำประโยชน์ อยากจะช่วยงานบ้าน สวมหรือถอดเสื้อผ้าเอง แสดงความรักต่อสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัว สัตว์เลี้ยง และตุ๊กตา แสดงความสนใจในตัวผู้ใหญ่เพิ่มมากขึ้น พยายามเลียนแบบผู้ใหญ่ชอบเข้าสมาคม . . . ชอบเล่นอยู่ในกลุ่มเด็ก แต่จะยังไม่เล่นกับเด็กอื่น สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – พัฒนาสัญชาตญาณการทำประโยชน์โดยมอบหมายงานง่าย ๆ ในบ้านให้ทำ – แนะนำลูกให้รู้จักเด็กอื่นให้บ่อยครั้งที่สุด ลูกอาจจะสร้างความสัมพันธ์อบอุ่นกับเด็กอื่น ๆ เพราะได้รับความสุขจากคุณแม่ กระตุ้นให้มีการแสดงความรักต่อสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัว สัตว์เลี้ยง และตุ๊กตา กระตุ้นให้แสดงความรัก ยกย่องชมเชยเมื่อลูกแสดงความรักและความใส่ใจต่อผู้อื่น สัตว์เลียง หรือตุ๊กตา
2 - 3 ปี
24 เดือน ลูกน้อยเรียกร้องความใจด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ดึงแขน ตีคุณแม่ ฝืนกระทำในสิ่งต้องห้าม ดื้อรั้นแต่จะไม่แสดงกิริยาเช่นนี้กับเด็กด้วยกัน เขาจะปรับพฤติกรรมเห็นแก่ตัวลดน้อยลงไปเพื่อดึงเด็กอื่นให้เป็นเพื่อน สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – พาลูกน้อยไปร่วมเล่นกับเด็กอื่นให้บ่อยที่สุด จัดหาของเล่นหลากหลายเพื่อดึงกลุ่มเด็กมาสังสรรค์กัน – ป้องกันความรู้สึกอิจฉา โดยการยกย่องชมเชยผลสำเร็จของเขา ยกย่องความเอื้อเฟื้อแบ่งปันสิ่งของ – ตอบสนองต่อการเรียกร้องความสนใจ ไม่สนับสนุนการกระทำในแง่ลบโดยใช้การเบนความสนใจไปทางอื่น แนะนำให้เข้าใจเรื่องการแบ่งปัน ให้ลูกน้อยเล่นกับเพื่อนคนอื่น ๆ เล่นเกมเป็นกลุ่ม ซึ่งต้องแบ่งปันของเล่นกัน 30 เดือน ลูกน้อยอาจไม่ยอมแบ่งปันของเล่นกับเพื่อนอย่างเต็มใจนัก อาจแสดงความอิจฉา ชิงดีชิงเด่น หาหนทางที่จะบังคับใจผู้อื่น อยากจะมีเสรีแต่ก็ต้องการความเห็นชอบจากผู้ใหญ่ อาจตอบสนองอำนาจของพ่อแม่โดยใช้อารมณ์ฉุนเฉียวเอาแต่ใจตัว ซึ่งก็ไม่ควรให้ความใส่ใจ สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – ให้กำลังใจความอุตสาหะ มองข้ามความล้มเหลว ช่วยเหลือโดยการแยกแยะปัญหา ยกย่องผลสำเร็จทุกอย่าง – สอนให้รู้จักมารยาทและความเคารพในสิทธิของผู้อื่น ถ้าเป็นกฎเพื่อความปลอดภัย ต้องบังคับอย่างเคร่งครัด – ใช้การบังคับวินัยให้น้อยที่สุด ถ้าจำเป็น ต้องใช้อย่างยุติธรรม คงเส้นคงวา การบังคับเข้มงวดอาจสร้างปัญหาทางพฤติกรรม หากหย่อนวินัย อาจนำไปสู่พฤติกรรมต้านสังคม เล่นเกมแบ่งปัน เลือกหาเกมที่ต้องยื่นของส่งให้ผู้อื่น เด็กจะเรียนรู้การแบ่งปันของเล่นกับเพื่อน 36 เดือน เด็กปลดตนเองออกจากอ้อมอกแม่ สนใจเล่นกับเพื่อนเด็กด้วยกัน ความไม่เห็นแก่ตัวผลิให้เห็นในระยะนี้ เขาอาจสร้างความสัมพันธ์อบอุ่นกับเด็กหรือผู้ใหญ่ แสดงความเห็นใจเมื่อเห็นผู้อื่นมีความทุกข์ มีความเอื้อเฟื้อใจกว้าง สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – ความไม่เห็นแก่ตัวเกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกันเป็นทีม หากลูกน้อยอยากจะเอาแต่ใจตัว ขอให้ทำแต่ในบ้าน – ขอบคุณในน้ำใจของลูกน้อยในทุกโอกาส – ความสัตย์จริงและความซื่อสัตย์เป็นคุณสมบัติที่ต้องปลูกฝังให้เกิดเร็วที่สุด ให้รางวัลแม้จะเป็นการสารภาพในความผิดเล็กน้อย . . . ให้รางวัลความจริง และจัดการกับการกระทำผิดในคราวต่อไป อย่าลงโทษการกล่าวความจริง กระตุ้นให้ร่วมเล่นกับเพื่อน ๆ การแบ่งปันนำไปสู่การยอมรับทางสังคม และจะก่อให้เกิดความเอื้อเฟื้อ กระตุ้นให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน ๆ