พัฒนาการด้านการคว้าจับ
Updated: Oct 5
ลูกน้อย ของเรามีพัฒนาการแต่ละช่วงวัย
เป็นอย่างไรบ้าง และคุณพ่อคุณแม่ควรเสริมสร้าง
พัฒนาการลูกน้อยได้อย่างไร
0 - 1 ปี
0 สัปดาห์ ลูกน้อยยังมีสัญชาตญาณ “คว้าจับ” ติดตัว มือจะกำแน่นเกือบตลอดเวลา เด็กจะกำนิ้วมือคุณแม่แน่น แต่ทว่า เมื่อใดที่เด็กตกใจ สัญชาตญาณ “สะดุ้ง” จะทำให้นิ้วกางแผ่เหมือนแฉกดาว สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – เด็กจะต้องคลายนิ้วออกก่อนจะเรียนรู้การคว้าจับตามใจสั่ง คุณทดสอบได้โดยสอดนิ้วให้ลูกคว้าจับ ออกแรงยกนิ้วของเขาให้ลอยพ้นที่นอน เพื่อดูว่าจะยกได้สูงเท่าใด ทดสอบสัญชาตญาณการคว้าจับ สอดนิ้วให้ลูกน้อยคว้าจับ ออกแรงยกนิ้วของเขาให้พ้นที่นอน เมื่อผ่านไป 2-3 สัปดาห์ แรงคว้าจับจะคลายลง 4 สัปดาห์ แรงคว้าจับคลายลงไปมากแล้ว แต่ยังกำมืออยู่ สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – กระตุ้นให้นิ้วมือคลายตัวโดยเล่น “นิ้วน้อยอยู่ไหน” คุณแม่จะจับนิ้วทีละนิ้วกางอ้าออก กางออกทีละนิ้ว เกมนิ้วน้อยอยู่ไหนจะช่วยกางนิ้วให้ยืดเหยียดออก นิ้วเท้าก็ทำเช่นเดียวกัน 6 สัปดาห์ สัญชาตญาณคว้าจับเกือบจะหมดไปแล้ว นิ้วของลูกน้อยจะกางอ้าออกเกือบตลอดเวลา สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – สอนให้ลูกน้อยรู้จักมือตนเอง เล่นเกมนิ้วน้อยอยู่ไหนต่อไป เขี่ยฝ่ามือและปลายนิ้วด้วยตุ๊กตาปุกปุย นวดนิ้วมือและนิ้วเท้าให้ลูกน้อยด้วย นี่คือมือของลูกน้อย นวดมือและเท้าให้ลูกน้อย เขี่ยฝ่ามือและปลายนิ้วด้วยวัสดุที่มีเนื้อผิวชนิดต่าง ๆ ถ้าเป็นไปได้ 8 สัปดาห์ นิ้วมือคลายยืดเหยียดได้มากแล้ว ลูกน้อยเริ่มสนใจมือตนเอง สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – แนะนำให้ลูกน้อยรู้จักมือตนเอง โดยเขี่ยด้วยวัสดุที่มีเนื้อผิวชนิดต่าง ๆ – วางสิ่งของลงในมือของลูกน้อย (วางขวางฝ่ามือ) ระลึกเสมอว่า ปลายนิ้วของเขาไวสัมผัสที่สุดในระยะแรก เขาจะใช้อุ้งมือกำวัตถุและหุบนิ้วมารัดของชิ้นนั้นไว้ กระตุ้นมือน้อยให้ตื่นตัว ให้ลูกน้อยแตะของเล่นหรือวัตถุที่มีความแตกต่างของเนื้อผิว อุณหภูมิและเส้นใย ลองใช้น้ำ แป้งทาตัว หรือผิวอุ่น ๆ ของคุณแม่ก็ได้ 12 สัปดาห์ ปฏิกิริยาตอบสนอง “คว้าจับ” หายไปแล้ว ลูกน้อยจะกางมืออ้าได้ตลอดเวลา ชอบยกมือขึ้นมาดู ถ้าวางของเล่นในมือ เขาจะถือไว้ได้แม้ไม่นานนัก เขาจะพยายามคว้าจับ ยึดถือไว้ในมือ สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – กระตุ้นให้คว้าจับได้ดีขึ้นโดยวางของเล่นเครื่องเขย่าลงในมือลูก – ในขณะที่ลูกน้อยนอนหงาย คุณแม่จะเล่นกับนิ้วมือของเขาเพื่อให้เขามองเห็น – แขวนโมบายล์ไว้ใกล้ที่นอนเพื่อให้เขามองและพยายามเอื้อมมือคว้าหรือวางตุ๊กตาอ่อนนุ่มไว้ข้างตัว ให้เขาปัดเล่น – เติมประสบการณ์สัมผัสในแง่มุมต่าง ๆ เช่น จับมือลูกน้อยแกว่งในอ่างน้ำ ให้สัมผัสของเล่นที่มีเนื้อผิวต่าง ๆ ฝึกการคว้าจับ วางของเล่นเครื่องเขย่าลงในมือลูกน้อย เขย่าให้เกิดเสียง เขาจะสนใจเนื้อผิวของวัสดุและเสียงจากของเล่น 16 สัปดาห์ ลูกน้อยควบคุมมือและเท้าได้แล้ว รวบมือหรือเท้ามาประชิดกันได้ ยกฝ่าเท้ามะแตะหัวเข่าอีกข้างได้ สั่นเครื่องเขย่าให้เกิดเสียงได้แม้จะหยิบเองไม่ได้ เขาจะดึงเสื้อมาปิดใบหน้าในขณะเล่นจ๊ะเอ๋กับคุณแม่ สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – ยื่นของเล่นเข้าไปใกล้ ให้เขาเอื้อมมือออกมาคว้า – ล่อแต่อย่าหลอก ลูกน้อยจะต้องได้ของเล่นชิ้นนั้นเสมอ หัวเราะแสดงความยินดีที่เขาได้ของเล่น เขาจะร่วมหัวเราะกับคุณ – กระตุ้นให้มือน้อยทำเสียงต่าง ๆ โดยหาของเล่นเครื่องเขย่าที่มีเสียงต่าง ๆ กันให้เขาเขย่า ของเล่นที่น่าตื่นตาตื่นใจ นำของเล่นมาล่อให้เขายื่นมือออกมาคว้า แต่อย่าหลอกให้เด็กล้มคว่ำ ยื่นของเล่นนั้นให้เขา 20 สัปดาห์ ลูกน้อยค้นพบนิ้วเท้าแล้ว เขาจะกำมือยัดเข้าปาก. . .จริง ๆ แล้ว ของทุกอย่างจะเข้าปากเสมอ เขาจะยื่นมือออกไปคว้าจับวัตถุขนาดใหญ่ด้วยมือทั้งสองข้าง ใช้ปลายนิ้วคว้าจับได้บ้างแล้ว คว้าทุกอย่างที่อยู่ใกล้มือ ชอบขยำกระดาษเล่น สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – กระตุ้นนิ้วมือลูกน้อยให้รู้จักกอดกุมและปลดปล่อย ด้วยการเล่นเกมรับ-ส่ง ของเล่น – แนะนำให้ลูกน้อยรู้จักนิ้วเท้า โดยจับปลายนิ้วเท้าให้เขาอม เล่นเกมนิ้วน้อยอยู่ไหนให้เขามองเห็น – หากระดาษเช็ดมือให้เขาเล่น เกมรับ-ส่ง วางของเล่นในมือลูกน้อย กางนิ้วออกแล้วขอคืน เด็กจะเอื้อมมือออกมาคว้าขวดนม ถือขวดนมเอง ขอขวดนมคืนจากเขา ให้เขายื่นส่งมาให้ 24 สัปดาห์ การเคลื่อนไหวของลูกน้อยเรียบลื่นขึ้นมาก ย้ายของจากมือหนึ่งไปยังมืออีกข้าง ถ้าถือของอยู่ในมือ จะทิ้งของเพื่อหยิบของเล่นชิ้นใหม่ ถือขวดนมได้แล้ว มือเหนียว คว้าจับสิ่งของรอบข้างได้ดี สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – กระตุ้นการใช้นิ้วมือ โดยให้อาหารที่ใช้มือหยิบได้ – ฝึกการคว้าจับให้ดียิ่งขึ้น โดยหัดให้ใช้ช้อนตักอาหารเอง – สอนการย้ายของจากมือข้างหนึ่งไปยังอีกข้าง อาหารที่ใช้มือหยิบ ขนมปังกรอบชนิดแท่ง หยิบง่าย เด็กกินอาหารเองได้ 28 สัปดาห์ ลูกน้อยคว้าและจับได้แม่นยำยิ่งขึ้น เอื้อมไปหยิบโดยใช้ปลายนิ้ว ย้ายของข้ามมือได้คล่องขึ้น ถ้าจะหยิบของเล่นชิ้นใหม่ จะไม่ทิ้งของเล่นที่อยู่ในมือ ชอบใช้ของเล่นเคาะโต๊ะ ใช้ช้อนตักอาหารเข้าปากได้แม่นยำยิ่งขึ้น กินขนมปังกรอบได้ด้วยตนเอง สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – ฝึกการกินอาหารเองโดยทิ้งจานอาหารและช้อนไว้ให้เด็ก เด็กอาจจะใช้นิ้วมือหยิบเข้าปากสลับด้วยการใช้ช้อนตัก เลือกอาหารที่ใช้นิ้วมือหยิบได้ง่ายเป็นส่วนใหญ่ – กระตุ้นการคว้าจับ โดยลดขนาดของชิ้นอาหารหรือผลไม้ลงทีละน้อย กินอาหารเอง วางจานอาหารและช้อนไว้ตรงหน้าให้เด็กตักอาหารกินในอัตราเร็วของตัวเอง เด็กอาจจะใช้นิ้วมือหยิบสลับกับการใช้ช้อน 32 สัปดาห์ เด็กชอบทำให้เกิดเสียงโดยใช้ของเล่นเคาะโต๊ะ การเคลื่อนไหวดีขึ้นจนฉีกกระดาษได้ นิ้วมือจะกอดกุมวัตถุได้ดีมาก สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – เติมความสนุกในการสร้างสรรค์เสียง โดยหาช้อน ฝาหม้อ หรือกลองเล็ก ๆ ให้ลูกน้อยใช้ตี – สอนให้ลูกน้อยหยิบแท่งไม้แล้วนำไปต่อเรียงกันเป็นชั้น เขาจะต่อได้ไม่เกิน 2 ชั้น เสียงเสนาะเคาะตี หาช้อนไม้ ฝาหม้อ กล่องโลหะ หรือกลองเด็กเล่นให้เขาตีได้เสียงต่าง ๆ กัน 36 สัปดาห์ การเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว การใช้ปากอมทุกอย่างที่ขวางหน้าลดน้อยลงไป เขาจะชี้นิ้วได้แล้ว โน้มตัวมาข้างหน้าหยิบสิ่งของได้ หยิบแท่งไม้ขึ้นมาพร้อมกัน นำมาชนกันเหมือนจะเปรียบเทียบ อาจจะหยิบของเล็กจิ๋ว เช่น เม็ดถั่วขึ้นจากพื้นได้ หรือถ้ายังหยิบไม่ได้ก็พยายามหยิบ สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – ให้เด็กเล่นแท่งไม้ขนาดเท่ากัน จัดวางเรียงซ้อนเป็นชั้น หรือต่อเป็นแถวยาว – เล่นเกมชี้วัตถุต่าง ๆ – หั่นอาหารหรือผลไม้ให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ขนาดที่เขาจะหยิบเข้าปากได้ กระตุ้นการก่อและสร้าง นำแท่งไม้มาเรียงต่อกันเป็นแถว หรือซ้อนกันเป็นชั้นให้เด็กมองเห็น ตัวอย่าง เด็กในวัยนี้ยังต่อเรียงแท่งไม้ไม่เป็น 40 สัปดาห์ ประสบความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ ! นั่นก็คือ การหยิบวัตถุเล็กจิ๋วด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้ขึ้นจากพื้นได้ เอื้อมไปหยิบจับโดยใช้นิ้วชี้ สามารถปล่อยสิ่งของให้หลุดจากมือตามใจสั่ง อาจจะต่อเรียงแท่งไม้ได้ 2 ชั้น สำรวจของเล่นที่ส่งเสียงได้ เช่น เคาะกระดิ่ง ใช้นิ้วจิ้มตุ้มกระดิ่ง สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – กระตุ้นการปล่อยวาง โดยวางของเล่นหลายชิ้นลงในมือเด็กให้เด็กโยนทิ้ง (จะใช้เชือกผูกของเล่นให้ติดกับอู่ก็ได้) ปรบมือชมเชยถ้าเขาทิ้งของในมือได้เป็นผลสำเร็จ – เล่นเกมกลิ้งลูกบอล ถ้าเด็กนั่งกางขากลิ้งลูกบอลเข้าไปในหว่างขาให้เขาคว้าจับ จากนั้น ขอลูกบอล ให้เขากลิ้งมาให้ สาธิตการเคลื่อนไหว หยิบของวางลงในกล่อง แล้วหยิบออกมา ปรบมือชมเชยถ้าเขาเลียนแบบคุณได้ 44 สัปดาห์ ลูกน้อยปล่อยมือ ทิ้งของได้อย่างง่ายดาย ใช้เวลาเล่นเกมหยิบของเติมลงกล่อง แล้วหยิบออกมาทิ้ง ยื่นสิ่งของมาให้ถ้าคุณออกปากขอชอบเล่นเกมตบแผละ สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – การปล่อยของให้หลุดจากมือ เป็นกระบวนการซับซ้อนที่สมองจะรับรู้และสั่งการ เด็กจะต้องฝึกฝนอยู่นานก่อนที่จะหยิบของลงกล่องแล้วหยิบออกมาทิ้ง – เล่นเกมรับ-ส่งของ ยื่นมือขอ ออกแรงดึงเบา ๆ อย่ากระชากของออกจากมือเด็ก – เล่นเกมโยกตัวเข้ากับจังหวะดนตรี ฝึกการปลดปล่อย หากล่อง ตะกร้า หรืออ่างพลาสติก ให้ลูกน้อยหยิบของลงกล่อง แล้วหยิบออกจากกล่อง 48 สัปดาห์ อายุ 48 สัปดาห์ ถึง 1 ขวบ เด็กขว้างของได้แล้ว ! เลิกหยิบสิ่งของเข้าปาก พยายามถือแท่งไม้ 2 อัน ด้วยมือข้างเดียว สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – ฝึกให้ถือแท่งไม้ 2 อันในมือข้างเดียว โดยวางแท่งไม้ทั้งสองลงไปพร้อมกัน – กระตุ้นให้ใช้ช้อนตักอาหาร แท่งไม้สองอัน ฝึกให้ลูกน้อยคุ้นกับแท่งไม้เกินหนึ่งแท่งในมือข้างเดียว อาจจะปล่อยหลุดมือไปบ้าง
1 - 2 ปี
15 เดือน เด็กหยิบถ้วย ถือไว้ในมือ และยกขึ้นดื่มเองได้ วางถ้วยลงได้โดยไม่หกมากนัก ใช้ช้อนตักอาหารกินเองได้แล้ว ยกช้อนพาอาหารเข้าปากได้โดยไม่หกเรี่ยราด ซ้อนแท่งไม้ได้ 3 ชั้น พยายามพลิกหน้าหนังสือ สวมเสื้อผ้าบางชิ้นได้เอง สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – ฝึกการสร้างหอคอยแท่งไม้ – หาหนังสือรูปภาพกระดาษแข็งสอนให้เด็กรู้วิธีพลิกหน้า – เล่นดนตรีด้วยกัน โดยใช้เครื่องดนตรีอย่างง่าย เช่น กลอง เปียโนเด็กเล่น แทมโบรีน ใช้เวลาสร้างหอคอย เด็กซ้อนแท่งไม้ได้ 3 ชั้น การสร้างหอคอยจะเป็นการฝึกการใช้นิ้วให้คล่อง
18 เดือน นิ้วคล่องแคล่วขึ้นมาก พลิกหน้ากระดาษได้คราวละ 2-3 แผ่น สนใจซิปและกระดุม ตักอาหารกินเองได้อย่างดี ยกถ้วยน้ำขึ้นดื่มโดยไม่หก โปรดปรานการวาดด้วยดินสอหรือวาดด้วยนิ้ว สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – การบิดหมุนเป็นกระบวนการซับซ้อนที่สมองจะสั่งการและควบคุมกล้ามเนื้อเด็กจะทำได้ก็ต่อเมื่อใช้ปลายนิ้วได้อย่างคล่องแคล่ว หากระดานหลุมที่มีรูปทรงเรขาคณิตต่าง ๆ ให้เด็กหยิบวัตถุวางให้ตรงช่อง หัดให้เด็กฝึกการหมุนลูกบิดมือจับ กดกระดุม กดแถบเวลโกร หรือรูดซิป – เตรียมเศษกระดาษและสีเทียนไว้ให้พร้อม ฝึกการใช้นิ้ว การบิด การหมุน การปั่น หรือ การเลื่อน ฝึกได้โดยการใช้เกมกระดานหลุม
2 - 3 ปี
24 เดือน พลิกหน้ากระดาษทีละหน้าได้แล้วสวมถุงเท้า รองเท้า ถุงมือได้เองหมุนลูกบิดเปิดประตูได้ บิดฝาขวดเกลียว (หลวม ๆ) จนเปิดออกรูดซิปขึ้นลงได้ มือบังคับดินสอได้ดี ซ้อนแท่งไม้ได้ 4 ชั้น สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – การสวมเสื้อผ้าเองจำเป็นต้องใช้การบังคับนิ้วมือได้อย่างดีเยี่ยม ถ้าต้องรูดซิป กลัดกระดุม หรือกดกระดุมโลหะเปิดโอกาสให้ลูกน้อยเลือกเสื้อผ้าเอง ให้หัดสวมและถอดเสื้อผ้า อย่างไรก็ตามยังไม่ควรให้เด็กสวมกางเกงขายาวที่มีซิปรูด ! – ฝึกความคล่องของกล้ามเนื้อนิ้วมือโดยเลือกขอกเล่นชิ้นเล็กที่ต้องหยิบจับมากดให้ติดกัน เช่น ตัวต่อเลโก ฝึกให้สวมเสื้อผ้าเอง การสวมหรือถอดเสื้อผ้าด้วยตนเองเป็นการฝึกทักษะปลายนิ้วชั้นดี 30 เดือน เด็กร้อยลูกปัดได้แล้ว กลัดกระดุมกางเกงได้เอง ซึ่งก็หมายถึงการสวมและถอดกางเกงด้วยตนเอง อาจจะถอดเสื้อ เองได้ ฝีมือการวาดภาพยอดเยี่ยมพอจะเห็นเค้าโครงของจริงได้ ซ้อนแท่งไม้ได้ถึง 8 ชั้น สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – กระตุ้นให้เด็กต่อของเล่นเป็นรูปซับซ้อนยิ่งขึ้น – เตรียมเครื่องมือวาดเขียนให้พร้อมทั้งกระดาษและสีสันหลากสี ของเล่นซับซ้อน จัดหาแท่งไม้และตัวต่อที่จำต้องใช้แรงกดอัดและจัดรูปทรงให้ลงช่องซึ่งจะเป็นการเพิ่มความแกร่งให้นิ้วมือ 36 เดือน วาดรูปเหมือนได้คล้ายคลึง กลัดและปลดกระดุมได้ด้วยตนเอง สวมและถอดเสื้อผ้าได้เอง (ถ้าอยากทำเช่นนั้น) ซ้อนแท่งไม้ได้ 9 ชั้น อยากจะใช้กรรไกร . . . ซึ่งก็ถือเป็นการบรรลุพัฒนาการไปได้อีกขั้น เพระจะเป็นการประสานการสั่งงานของสมองกับกล้ามเนื้อ และความคล่องตัวในการขยับมือ สิ่งที่คุณแม่จะช่วยได้ – ให้เด็กช่วยงานที่ต้องใช้ความคล่องตัวของกล้ามเนื้อ – ฝึกให้ระบายสีลงในรูปลายเส้นดูว่ามีสีเลอะเทอะล้ำเส้นออกมามากเท่าใด – ฝึกการทำงานฝีมืออย่างง่าย – ฝึกการเล่นหุ่นนิ้ว ความคล่องตัวของกล้ามเนื้อ งานบ้านหลายอย่างอาศัยความคล่องตัวของกล้ามเนื้อ เช่น การจัดถ้วยชามบนโต๊ะอาหาร
